วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาหารประจำถิ่น




อาหารประจำถิ่น 4 ภาค



    อาหารประจำถิ่น หมายถึง อาหารที่ประชาชนบริโภคอยู่ในชีวิตประจำวันและในโอกาศต่างๆ โดยอาศัยเครื่องปรุง วัสดุที่นำมาประกอบอาหารจากแหล่งต่างๆจากธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ นำมาประกอบเป็นอาหารเพื่อรับประทานจนกลายเป็นอาหารประจำของแต่ละถิ่นที่จะมีควมแตกต่างกันออกไป

อาหารประจำถิ่น
ภาคเหนือ

1.ไส้อั่ว

 

ไส้อั่ว เป็นอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทยปกติมักจะทำมาจากเนื้อหมูบด ผสมพริกแห้ง กระเทียม ขมิ้น ข่า  ใบมะกรูดแดง และเครื่องปรุ่งรสแล้วกรอกลงไปในไส้หมู ที่เกลาจนบางแล้ว บิดให้เป็นท่อนพอประมาณ จากนั้นนำไปย่างให้เกรียม จะทำให้มีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน สำหรับผู้ที่เป็นชาวมุสลิมหรือไม่ประสงค์ที่จะรับประทานหมูด้วยเหตุผลใดๆก็ตามอาจจะดัดแปลงใช้เนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้วก็กรอกเข้าไปในไส้สัตว์ชนิดอื่นหรือไส้เทียมแทนก็ได้

  ส่วนผสม

ไส้หมูขูด  หมูบด   มันหมูแข็งบด   ใบมะกรูดหั่นฝอย   ขมิ้นผง     ไข่ไก่  ต้นหอม ผักชีหั่นฝอย    พริกแกง    น้ำปลาดี   ผงชูรส         

วิธีทำ
1. ผสมหมูบดกับพริกแกงให้เข้ากัน เติมมันหมูแข็ง ใบมะกรูดหั่นฝอย ขมิ้นผงไข่ไก่ ต้นหอม ผักชีหั่นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. นำไปยัดใส่ในไส้หมูให้แน่น
3. ไล่อากาศออกให้หมด
4. ใช้เชือกมัดหัวท้าย
            5. นำไปทอดหรือย่าง ก่อนทอดหรือย่างลวกน้ำร้อนก่อน



2.ข้าวซอย



ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทยเดิมเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ" เป็นอาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัวแต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน บางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ อาหารจานนี้มักไม่ค่อยมีจำหน่ายในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะพบบ่อยก็แต่ทางภาคเหนือของไทย

เครื่องปรุง 
น่องไก่ หรือ ส่วนสะโพก  ซีอิ้วขาว และ ซีอิ้วดำ  หัวกะทิ และ หางกะทิ  เส้นข้าวซอย  เครื่องปรุงผักดองสำหรับปรุงรสข้าวซอย  หอมหัวแดง  น้ำตาลทราย  น้ำส้มสายชู  เกลือป่น    พริกป่นนำไปผัดน้ำมันจะเหนียวเป็นก้อน 


วิธีทำ
1. นำเนื้อไก่มาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดพอประมาณ จากนั้น ปลอกเปลือกขิง นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปในครกโขลกให้ละเอียดแล้วจึงนำน้ำพริกแกงเผ็ดใส่ลงไปโขลกให้เข้ากัน
2. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไปประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไปผัดจนน้ำพริกเริ่มหอม จากนั้นใส่ไก่ที่หั่นไว้ลงไป ผัดจนไก่เริ่มสุกก็โรยผงกะหรี่ลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. ค่อยๆ ใส่หัวกะทิลงไป (แบ่งหัวกะทิไว้ประมาณ ¼ ถ้วย สำหรับโรยหน้าตอนเสริฟ) ผัดและใส่กะทิลงไปเรื่อยๆ จนไก่สุก จึงใส่กะทิลงไปจนหมด
4. เคี่ยวน้ำแกงต่อไปประมาณ 10 นาที ก็เติมน้ำเปล่าลงไป จากนั้นปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) และน้ำตาลทราย ชิมรสตามชอบ รอจนน้ำแกงเดือดอีกครั้งก็ปิดเตาได้




3.แคบหมู



แคบหมู คือ หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ เป็นอาหารที่ปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก ในภาษาอังกฤษเรียก pork snack, pork rind, pork scratching หรือ pork crackling
ในประเทศไทย แคบหมูมักใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารอื่น ๆ เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยว น้ำเงี้ยวฯลฯ หรือเป็นส่วนผสมประกอบอาหารอื่น ๆ เช่น พวกน้ำพริกหรือแกง ถ้าใช้หนังสัตว์อื่น จะเปลี่ยนไปเรียกชื่อตามสัตว์นั้น ๆ เช่น แคบควาย ทำจากหนังกระบือ แต่ถ้าทำจากหนังโค จะเรียก หนังพอง

ส่วนผสม
หนังหมูสด   เกลือป่น    ซีอิ้วขาว      
   


วิธีทำ

1. ทำความสะอาดหนังหมู โดยขูดออกจนสะอาด

2. นำไปต้มทั้งชิ้นใหญ่ ๆ จนสุก สังเกตได้จากการที่เอาเล็บหยิก หนังหมูได้ จากนั้นนำไปผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เลาะมันที่ติดอยู่กับหนังออกให้หมด

3. นำมาคลุกเคล้ากับเกลือป่น และซีอิ้วขาว แล้วหั่นเป็นชิ้นขนาด 1x2 นิ้ว หรือตามความชอบของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่น
4. นำไปตากแดด 5-8 ชั่วโมง หรืออบไฟที่อุณหภูมิ 70 c นาน 7 ชั่วโมง จนหนังหมูเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อน
5. ต้มในน้ำมันใช้ไฟอ่อน ๆ ประมาณ 30 นาที หนังหมูเมื่อสุกแล้ว ลอยตัวขึ้นมา และจะแตกเป็นตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่า ตากบตาเขียด ร้อยละ 20-30 ของหนังหมู
6. ตักหนังหมูขึ้นจาก กระทะ ผึ่งให้เย็น ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ที่อุณหภูมิ ห้องปกติ หนังหมูก็จะเย็น
7. นำไปทอดในน้ำมันอีกครั้ง ใช้ไฟขนาดปานกลาง ไม่ร้อนจนเกินไป ขณะทอดให้ใช้ตะหลิว กวนในกระทะด้วย  เพื่อให้แคบหมูไดรับความร้อนเท่า ๆ กัน และเกิดการพองตัวเท่ากันทุกส่วน ขณะทอดแคบหมูได้รับความร้อนเท่า ๆ กัน และเกิดการพองตัวเท่ากันทุกส่วน ขณะทอดแคบหมูหากใช้ไฟแรงจะทำให้ไหม้ ถ้าใช้ไฟอ่อนเกินไป จะทำให้อมน้ำมันทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเก็บไว้ในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท ป้องกันไม่ให้อากาศเข้า

4.น้ำพริกหนุ่ม






น้ำพริกหนุ่ม คือน้ำพริกอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ทำจากพริกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าพริกหนุ่มอาจจะใช้พริกหนุ่มที่แก่จัดหรือยังไม่แก่จัดก็ได้แต่ส่วนมากใช้พริกหนุ่มที่ยังไม่แก่จัด หอม และกระเทียบนำมาย่างและโขลกส่วนผสมและเกลือรับประทานกับแคบหมูผัก ข้าวเหนียว บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใสน้ำปลากับเกลือพริกชี้ฟ้าเขียว  กระเทียม  หอมแดง  กะปิ  เกลือ น้ำปลา  ผักสดต่างๆ สำหรับทานกับน้ำพริกหนุ่ม


เครื่องปรุง
พริกหนุ่ม  หัวหอม กระเทียม  มะเขือเทศ เกลือป่น  ปลาร้า  ต้นหอม  ผักชีหั่นหยาบ


วิธีทำ

              1. เผาพริกหนุ่ม หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ให้สุก แล้วปอกเปลือกออกให้หมด
              2. ให้ใบตองห่อปลาร้าสับ แล้วนำไปเผาไฟให้หอม
              3. นำเกลือ พริกหนุ่ม กระเทียม และหัวหอมโขลกเข้าด้วยกันพอหยาบ ๆ ใส่ปลาร้าสับ มะเขือเทศ โขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน
              4. โรยต้นหอม ผักชี



5.ขนมจีนน้ำเงี้ยว


 





ขนมจีนน้ำเงี้ยวที่มีดอกงิ้ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญ กินกับแคบหมูเป็นเครื่องเคียง  เดิมที ขนมจีนไม่ได้รับประทานพร้อมกับน้ำเงี้ยว แต่เพิ่งนำประยุกต์มารับประทานพร้อมกันไม่นานมานี้ น้ำเงี้ยวเป็นอาหารของชาวเงี้ยวซึ่งเป็นกลุ่มไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานประเทศพม่าต่อมาอพยพหนีการสู้รบกับรัฐบาลพม่า จึงเข้ามาอาศัยกระจายทั่วไปทุกจังหวัดภาคเหนือ แต่ที่เป็นชุมแหล่งใหญ่คือจังหวัดแพร่เนื่องจากในยุคนั้นมีการสัมปทานพื้นที่การทำป่าไม้ให้กับบริษัทจากอังกฤษ มีความต้องการแรงงานมาก ชาวเงี้ยวจึงปักหลักอาศัยเป็นชุมชนใหญ่ที่นี่ ปัจจุบันขนมจีนน้ำเงี้ยวนิยมรับประทานควบคู่ ผักนานาชนิด, แคบหมู, ส้มตำ,เนื้อทอด

ส่วนผสม
กระดูกหมูเอียวเล้ง เส้นขนมจีน ซี่โครงหมูอ่อน  น้ำมันพืช เนื้อหมูสับ มะเขือเทศสีดา  ดอกเงี้ยว  เลือดหมูหรือเลือดไก่ เกลือ  กระเทียมเจียว ต้นหอมและผักชีซอย. ผักต่างๆ  เครื่องแกง

วิธีทำ
1. ทำน้ำพริกแกงโดยโขลกเครื่องแกงทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย
2.ล้างกระดูกหมูให้สะอาด ใส่ลงลวกในหม้อน้ำเดือดจัดก่อน แล้วตักขึ้นใส่ลงในหม้ออีกใบ ใส่ซี่โครงหมู และน้ำ 8 ถ้วยลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟร้อนปานกลาง พอเริ่มเดือดลดเป็นไฟอ่อน หมั่นช้อนฟองทิ้ง เคี่ยวจนซี่โครงหมูเปื่อยนุ่ม
3. ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางพอร้อน ใส่น้ำพริกแกงที่โขลกลงผัดจนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูสับผัดให้เข้ากัน จนหมูสุก ปิดใส่ ตักใส่หม้อซี่โครงหมูที่เคี่ยวข้างต้น คนให้เข้ากัน ใส่มะเขือเทศสีดา ดอกเงี้ยว เลือดไก่หรือเลือดหมู ปรุงรสโดยใช้เกลือ ลดไฟให้เป็นไฟอ่อน เคี่ยวต่อจนรู้สึกว่ารสเปรี้ยวในมะเขือเทศออกมา ชิมให้ออกเค็มและเปรี้ยวอ่อนๆ ปิดไฟ
4. จัดขนมจีนใส่จาน ตักน้ำเงี้ยวราด หรือตักน้ำเงี้ยวใส่ถ้วยแยกต่างหาก โรยกระเทียมเจียว
ต้นหอมและผักชีซอย เสิร์ฟพร้อมกับผักและพริกป่นคั่วน้ำมัน

ภาคอีสาน

1.ส้มตำ 



ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันอกเฉียงเหนือ ของไทยและประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับมะเขือเทศลูกเล็กถั่วลิสงคั่วกุ้งแห้งพริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตานปิ้บ น้ำปลา ปูดิงหรือปลาร้าให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่างโดยมีผักสด เช่น กระหล่ำปรีหรือถั่วฝักยว ผักบุ้งเป็นเครื่องเคียง
 
ส่วนผสม
มะละกอดิบ กระเทียม  พริกขี้หนู  มะเขือเทศ ถั่วลิสงคั่ว ถั่วฝักยาว น้ำปลา  กุ้งแห้ง  น้ำมะนาว  น้ำตาลปิ๊บ

วิธีทำ
1.ปลอกมะละกอ และล้างด้วยน้ำให้สะอาด แล้วทำการเฉาะมะละกอและสับให้เป็นเส้นๆ ใส่จานพักไว้
2.น้ำผักที่เตรียมไว้ทุกชนิดมาล้างให้สะอาด มะเขือ ผ่าครึ่งลูก ส่วนถั่วฝักยาว ให้หันแบ่งท่อนละ 4 ท่อนเล็ก
3.หลักจากนั้นนำพริกขี้หนูและกระเทียมใส่ลงไปในครกที่เตรียมไว้ ตำให้แตก ไม่ต้องละเอียดจากนั้นตามด้วย
4.นำมะเขือเทศ ถั่วฝักยาว, ถั่วลิสง และกุ้งแห้งใส่ตามลงไปตำให้ทั่ว ให้ส่วนผสมเข้าถึงกันทั่วครก
5.หลังจากนั้นนำเส้นมะละกอ และ เครื่องปรุงที่เหลือ แล้วตำเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จ ตักใส่จาน เป็นอันได้ส้มตำไทยที่แสนน่ากิน

 2.ลาบหมู 
 


ลาบหมู เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสานและภาคเหนือ(รวมถึงประเทศลาว) โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง ซึ่งเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด เช่นเนื้อไก่เนื้อเป็ดเนื้อวัวเนื้อควายเนื้อปลาเนื้อหมู และเนื้อนก นอกจากนี้ยังสามารถลาบสัตว์จำพวกกวง ก็นำมาลาบได้เช่นกัน ลาบนิยมกินคู่กับข้าวเหนียว

ส่วนผสม
หมูสับ ใบสาระแหน่  ข้าวคั่ว  ต้นหอมซอย  ผักชีหั่นหยาบ  หอมแดง ถั่วฝักยาว  น้ำมะนาว  น้ำปลา  พริกป่น น้ำตาล

วิธีทำ
1. ใส่น้ำในหม้อ ตั้งไฟแล้วใส่หมูสับที่เตรียมไว้ลงไป เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆ อย่าใช้ไฟแรงมาก พยายามอย่าให้เนื้อหมูสับติดกันเป็นก้อน คนให้ทั่วจนหมูสุกทั่วหม้อ แล้วเทน้ำออก
2. นำหมูเทออกจากหม้อ ใส่ชามแล้ว เอาหองแดง ต้นหอม ใบสาระแหน่ ผักชี ที่เตรียมไว้มาใส่ในชาม คลุกเคล้าให้ทั่วชาม ตามด้วย ข้าวคั่ว พริกป่น น้ำตาล มะนาว และ น้ำปลา คนจนทุกอย่าง เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียว
3. นำใส่จาน จัดแต่งหน้าจานด้วย ใบสาระแหน่ โรยให้สวยงาม จัดผักเคียงด้วย ถั่วฝักยาว และกระหล่ำปลี คราวนี้ก็จะได้ ลาบหมู ง่ายๆ แสนอร่อย


3.แจ่วบอง
 

แจ่วบอง เป็นน้ำพริกอีสานที่ชาวบ้านชาวช่องรู้จักกันดีเป็นอย่างยิ่ง อันว่า แจ่ว แปลว่า น้ำพริก คำว่าบองนั้นมันเพี้ยนมาจากบ้องเพราะสมัยก่อนพี่น้องชาวอีสานจะทำแจ่วบองใส่บ้องไว้ใช้สำหรับการเดินทางไกลๆเก็บไว้กินได้นาน แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนมาใช้กระปุกพลาสติกแทนแล้ว

เครื่องปรุง
รากผักชี ตะไคร้เผาพอหอม ปลาร้าสับละเอียด น้ำมันพืช น้ำมะขามเปียก-ข้น ข่าเผาซอย พริกป่น ปลาป่น น้ำปลา น้ำตาลทราย

วิธีทำ
1. สับปลาช่อนหรือปลาที่เราจะนำมาทำให้ละเอียด
2. แกะเมล็ดของมะขามเปียกออกและสับมะขามเปียกให้ละเอียด
3. นำเครื่องเทศ หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ พริกขี้หนูแห้ง คั่วไฟอ่อน ๆ ให้สุกจนทั่ว
4. นำเครื่องเทศทั้งหมดมาปั่นหรือโขลกให้ละเอียด
5. นำส่วนผสมของเครื่องเทศที่โขลกละเอียดแล้วผสมกับปลาที่เราสับและมะขามเปียกที่สับละเอียดคลุกเข้าด้วยกัน ปรุงรสด้วยผงชูรสและน้ำปลา ตามสูตร
6. นำแจ๋วบองปลาร้าสับที่ละเอียดและผสมเครื่องปรุงเรียบร้อยแล้ว เขาเตาอบให้สุกและกลับด้านของเนื้อแจ๋วบองเพื่อให้สุกทั่วถึงกันอย่างสม่ำเสมอ จะได้แจ๋วบองที่อร่อยและถูกสุขลักษณะคือเป็นปลาร้าที่เราทำให้สุกก่อ




 4.ข้าวจี่
 
 
ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าว อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราวๆเดือนมกราคมของภาคกลาง จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตรเรียกว่าบุญข้าวจี่ข้าวหลาม ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาวๆแบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่างๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้นๆ หมูยอ หมูหยอง(คนลาวเรียกหมูฝอย)และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข่าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไทย

ส่วนผสม
ข้าวนึ่ง กะทิ ไข่ไก่ เกลือ

วิธีทำ
ผสมกะทิและเกลือ คนให้เกลือละลาย ใส่ลงในชามข้าวเหนียว นวดให้เข้ากันปั้นข้าวเหนียว แล้วเสียบไม้ตรงกลาง  นำไปย่างไฟอ่อนๆ ให้เกรียมเล็กน้อย  ตีไข่ไก่ให้เข้ากัน นำข้าวจี่ชุปไข่   นำไปย่างไฟอ่อนๆ อีกครั้ง ให้เกรียมเล็กน้อย

5.ไส้กรอกอีสาน
 

ไส้กรอกอีสานหรือไส้กรอกเปรี้ยว (Fermented pork sausage) เป็นอาหารที่นิยมมาก  ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไส้กรอกอีสานหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู มันหมู ข้าวสุก เครื่องปรุงแต่งกลิ่นและรส บรรจุในไส้หมูหรือไส้ชนิดอื่นที่บริโภคได้และต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน

เครื่องปรุง
เนื้อหมูปนมัน  กระเทียม เกลือป่น   ข้าวเหนียวนึ่ง  ไส้หมูดิบ พริกไทยอ่อน  

ขั้นตอนการทำ
1.จัดล้างเนื้อหมูติดมันให้สะอาดก่อนอื่น และสับหรือบดละเอียด ใส่กะรเทียมสับ หรือ บด ไปด้วยกันเลยก็ได้พร้อมเกลือขณะบดด้วย
2.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกดีแล้วมาบดละเอียดผสมเข้าไปกับเนื้อหมูให้เข้ากันดี เอามือสวมถุงมือยางนวดเนื้อหมูให้เข้ากันกับเครื่องปรุงให้ดี
3.นำไส้หมูมาทำความสะอาดทั้งด้านนอกและด้านใน ขูดให้ไส้หมางลงเอาเกลือมาใส่แล้วล้างไส้หมูให้สะอาดเสียก่อน
4.เอาเนื้อหมูที่นวดได้ที่แล้วใส่เข้าไปในไส้หมู อย่าใส่เข้าไปในไส้จนแน่นมากเพราะจะต้องเอาเชือกมัดไส้หมูเป็นท่อนๆอีก โดยจะแบ่งให้เท่ากันในแต่ละท่อน
5.นำไส้หมูที่ใส่เนื้อหมูที่ปรุงแล้วไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 วันหากต้องการความเปรี้ยวมากยิ่งขึ้นก็สามารถจากนานกว่านี้ได้
6.เวลารับประทานให้เอาไปทอดในน้ำมันพืชร้อนๆก็ได้ หรือจะเอาไปย่างไฟก็ได้เช่นเดียวกัน จนเหลืองสุกก็เอาไปรับประทานได้

ภาคกลาง


1.ต้มยำกุ้ง 
 
 
ต้มยำกุ้ง ต้มยำกุ้งนับเป็นอาหารไทยที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกทั้งในแง่ความอร่อยและยังเป็นอาหารจานสมุนไพรต้านมะเร็งอีกด้วย ต้มยำกุ้งตำรับดั้งเดิมนั้นน้ำแกงใสมีกลิ่นหอมปัจจุบันต้มยำกุ้งถูกดัดแปลงให้น้ำข้นสีสวยด้วยน้ำพริกเผาหรือบางครั้งก็เติมน้ำกะทิหรือนมสดลงไป

ส่วนผสม
กุ้ง  เห็ดฟาง  ตะไคร้  ใบมะกรูด  เกลือ  น้ำปลา  น้ำมะนาว  พริกขี้หนู  น้ำสะอาด  ผักชี

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง
2. นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ
3. หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และนำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ


 2.ผัดไทกุ้งสด

 

 
ผัดไทกุ้งสด โดยมากจะนำเส้นเล็กมาผัดกับ ไข่ กุ้ยช่าย ถั่วงอก หัวไชโป๊วสับ เต้าหู้เหลือง ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยพริก น้ำปลา และน้ำตาล และเสิร์ฟพร้อมกับมะนาว กุ้ยช่าย ถั่วงอกสด และหัวปลี เป็นเครื่องเคียง ร้านผัดไทบางแห่งจะใส่เนื้อหมูลงไปด้วย บางที่อาจจะใช้เส้นจันท์ซึ่งเหนียวกว่าเส้นเล็ก เรียกว่า "ผัดไทเส้นจันท์"

ส่วนผสม
กุ้งสด เส้นจันท์  ถั่วงอก ใบกุ้ยช่าย  น้ำปลา  น้ำมันหอย  น้ำมะขาม  น้ำตาล หัวไชโป้ว ถั่วลิสงบด ไข่ไก่  พริกป่น มะนาว

วิธีทำ
1. กรณีใช้เส้นชนิดแห้ง ให้นำเส้นไปแช่น้ำธรรมดา (อุณหภูมิห้อง) ประมาณ 30 นาที
2. ตั้งกระทะบนไฟปานกลาง ใส่กุ้งลงไปผัดจนเริ่มสุก ตอกใส่ไข่ลงไปในกระทะ ใช้ตะหลิวเขี่ยให้ไข่แดงแตก พอไข่เริ่มสุก ใส่เส้น, น้ำตาล, ถั่วลิสงและ หัวไชโป้ว ผัดจนเส้นเริ่มนุ่มและเครื่องปรุงทั้งหมดผสมกันทั่ว
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมันหอย และน้ำมะขาม (หรือน้ำส้มสายชู) ใส่ถั่วงอก, หัวไชโป้วและพริกป่น (ถ้าชอบรสจัด) ผัดอย่างรวดเร็วให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว ตักใส่จาน จัดแต่งด้วยถั่วงอกสด, พริกป่น, และมะนาว ข้างจาน ควรเสิรฟขณะยังร้อน


 3.ข้าวเกรียบปากหม้อ
 
 
ข้าวเกรียบปากหม้อ เป็นของว่างที่เรียกชื่อตามลักษณะของอุปกรณ์และวิธีการทำที่มีทั้งไส้เค็มและไส้หวาน ไส้เค็มทำจากหมูหรือไก่สับละเอียดผัดผสมกับหัวผักกาดเค็มถั่วลิสงคั่วปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาลปีบผัดรวมกันจนเหนียวจับตัวเป็นก้อน

ส่วนผสมแป้ง 
แป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมัน น้ำ

ส่วนผสมไส้ 
เนื้อหมูสับ หัวไชโป๊เค็ม หอมใหญ่ ถั่วลิสงคั่ว รากผักชีหั่น กระเทียมสับ พริกไทยเม็ด น้ำตาลปีบ น้ำปลา น้ำ น้ำมัน

วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมัน เข้าด้วยกัน ค่อย ๆใส่น้ำลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากันดี ทำไปเรื่อย ๆ จนหมดน้ำ 
2. โขลกรากผักชี กระเทียม(ที่เหลือ) และพริกไทยให้ละเอียด 
3. ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่กระเทียมลงไป เจียวให้เหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) ตักใส่ถ้วยไว้ครึ่งหนึ่ง สำหรับพรมขนม 
4. น้ำมันและกระเทียมเจียวที่เหลือในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องที่โขลกลงผัดให้หอม ใส่เนื้อหมู ผัดพอสุก ยีอย่าให้เป็นก้อน ใส่หอมใหญ่ หัวไชโป๊ ถั่วลิสง ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา ใส่น้ำ ผัดให้เข้ากันจนเหนียว ชิมให้ออกรสหวาน เค็ม ปิดไฟ พักไว้สำหรับเป็นไส้ 
5. เตรียมหม้ออะลูมิเนียมคอคอด ขึงผ้าขาวให้ตึง เหลือช่องให้ไอน้ำออกเล็กน้อย ใส่น้ำลงไป 1/ 2 หม้อ ตั้งไฟให้เดือด ใช้ทัพพีตักแป้งละเลงให้เป็นแผ่นกลม ปิดฝากะพอแป้งสุก เปิดฝา ตักไส้ใส่ตรงกลาง พับสี่ทบ ตักขึ้น พรมด้วยกระเทียมเจียว 
6. จัดใส่จาน รับประทานกับผักกาดหอม ผักชี พริกขี้หนูสด



4.แกงเขียวหวาน
 

 
แกงเขียวหวาน เป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคกลางที่ปรุงแต่งด้วยกะทิที่เข้มข้นจริงๆ แกงเขียวหวานมีหลายชนิด เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานปลาดุก และ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แต่ถ้าเอ่ยชื่อแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากรายจะเป็นที่นิยมที่สุด

ส่วนประกอบ
น้ำพริกแกงเขียวหวาน  เนื้อไก่ กะทิ  ใบโหระพา  มะเขือเปราะ  น้ำซุปไก่ น้ำตาลมะพร้าว  น้ำปลา  พริกชี้ฟ้าแดง  ใบมะกรูด

วิธีทํา
1. ตั้งกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (กระทิส่วนที่เหลือไว้ค่อยใช้ในขั้นตอนต่อไป) บนกระทะจนร้อนด้วยไฟปานกลาง คนจนกะทิเดือดประมาณ 3 – 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปผัดกับกระทิสักพักจนน้ำกะทิงวดลง จากนั้นเทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อใหญ่
2. นำหม้อใบใหญ่ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนื้อไก่ลงไป และคนให้เข้ากันประมาณ 2 นาที ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำตาล คนให้เข้ากันต่อไปอีก 1 นาที ตามด้วยมะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว
3. ใส่น้ำกะทิที่เหลือและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพักจนเนื้อไก่เริ่มสุก และมะเขือเปราะนิ่ม
4. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิรฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ พร้อมรับประทานค่ะ (สามารถทานคู่กับขนมจีนหรือโรตีกรอบได้ค่ะ)



5.ห่อหมกปลา

ห่อหมกปลา เป็นอาหารยอดฮิตของชาวนักชิมทั้งหลายที่แสวงหาอาหารตามใจปาก ห่อหมกปลาที่คนนิยมสั่งมารับประทานคือ ห่อหมกปลาช่อนซึ่งจะมีรสชาติเข้มข้น เนื้อปลาแน่น ไม่มีกลิ่นคาว โดยเฉพาะห่อหมกพุงปลาช่อนจะเป็นความอร่อยสุดยอดของห่อหมกและมีราคาแพงกว่าส่วนอื่นๆ

                เครื่องปรุง
เนื้อปลา ใบกะหล่ำปลี แป้งข้าวเจ้า ใบผักชี พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด  น้ำพริกแกงเผ็ด กะทิ  ไข่ไก่ น้ำปลา น้ำตาล

วิธีทำ
1. เทกะทิประมาณ 1 ถ้วยตวงลงในชามใบใหญ่ (แยกกะทิ 1/4 ถ้วยตวงไว้ราดหน้าห่อหมก) ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงไปและคนจนกะทิกับเครื่องแกงผสมกันดี
2. ใส่เนื้อปลาลงในส่วนผสม คนจนกระทั่งเนื้อปลาผสมกันดีกับกะทิและเครื่องแกง เติมไข่ไก่, น้ำปลา และน้ำตาล คนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน
3. นำใบกะหล่ำปลีที่ซอยไว้แล้วไปลวกในน้ำร้อนประมาณ 3 นาที จากนั้นให้นำไปล้างด้วยน้ำเย็น
4. บีบกะหล่ำให้น้ำออกให้หมด จากนั้นจึงนำไปใส่รองพื้นในถ้วยใบตอง (หรือถ้วยแก้วใบเล็กๆ) เสร็จแล้วตักเครื่องแกงที่ผสมดีแล้วจนเกือบเต็มถ้วย นำไปนึ่งประมาณ 30 นาที
5. นำแป้งข้าวเจ้าไปผสมกับกะทิที่แยกไว้แต่งหน้า คนจนเข้ากันดีแล้วนำไปใส่ไมโครเวฟ อุ่นด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 นาที
6. หลังจากห่อหมกนึ่งเสร็จ แต่งหน้าด้วยกะทิที่เตรียมไว้ และโรยหน้าด้วย ผักชี, ใบมะกรูดและพริกซอย นึ่งต่อไปอีก 3 นาที จึงนำไปจัดใส่จานและเสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ


ภาคใต้ 

1.ข้าวยำปักษ์ใต้ 


ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง
                ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลาเพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่าเนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา

เครื่องปรุงน้ำบูดู
น้ำบูดู  น้ำสะอาด  ปลาอินทรีย์เค็ม  น้ำตาลปี๊บ  ตะไคร้  ใบมะกรูด ข่า
วิธีทำ
1. ต้มปลาอินทรีย์จนเปื่อย แกะเอาแต่เนื้อใส่หม้อ เติมน้ำบูดู น้ำ ตั้งไฟปานกลาง
2. ใส่ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด น้ำตาลปี๊บ เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำบูดูเริ่มข้น ชิมรสให้เค็มนำ หวานตาม เมื่อได้ที่แล้ว ยกลง 
เครื่องข้าวยำ
ข้าวสวย  กุ้งแห้งป่น  มะพร้าวคั่วป่น  พริกป่น  ถั่วงอกเด็ดหาง  ตะไคร้หั่นฝอย  ใบมะกรูดอ่อนหั่นฝอย  มะม่วงดิบสับ  ถั่วฝักยาวหั่นฝอย  กะหล่ำปลี  ส้มโอ มะนาว

วิธีการรับประทาน 
ตักข้าวใส่จาน ตามด้วยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดูเล็กน้อย ตามด้วยผักต่างๆ ตามชอบ คลุกรวมกัน ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว และพริกป่น เคล้าให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

2.น้ำพริกระกำ   

                น้ำพริกระกำนับเป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งในช่วงฤดูร้อน ขณะที่มะนาวขาดแคลน ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองก็ออกผล คนใต้จึงนิยมประยุกต์ใช้รสเปรี้ยวจากระกำแทนมะนาว นำมาทำน้ำพริกรับประทานกับผักต่าง  น้ำพริกระกำจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวเค็มหวานอย่างกลมกล่อมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของระกำเจืออยู่ด้วย คนใต้นิยมรับประทานคู่กับลูกเนียงซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานคู่กันยิ่งทำให้เพิ่มรสชาติในการรับประทานยิ่งขึ้น นับเป็นของคู่กันเลยทีเดียว 
            น้ำพริกระกำ เป็นน้ำพริกที่เพิ่มรสชาติของผักเหนาะให้รับประทานได้มากยิ่งขึ้น การรับประทานผักมาก  และหลายชนิด ช่วยให้ร่างกายได้คุณค่าทางอาหารรวมตลอดถึงวิตามินครบถ้วน

ส่วนผสม
ระกำเปรี้ยว พริกขี้หนูสวน กระเทียมไทย  กุ้งแห้ง น้ำตาลปี๊บ  น้ำมะนาว กะปิ

วิธีทำ
1. ปอกเปลือก ล้างระกำ ลอกเยื่อสีขาวออก หั่นเป็นชิ้น (แบ่งไว้โรยหน้าเล็กน้อย) ใล่ถ้วย เตรียมไว้
2. โขลก กุ้งแห้ง กระเทียม พริกขี้หนู  และกะปิ เข้าด้วยกันพอหยาบ ใส่ระกำ โขลกเข้าด้วยกัน ใส่น้ำตาลปิ๊บ  คนให้เข้ากัน ชิมรสให้ เปรี้ยว เผ็ด เค็ม และหวานเล็กน้อย (ถ้าระกำเปรี้ยวไม่เปรี้ยวมากให้ใส่น้ำมะนาว)
3. ตักใส่ถ้วย โรยระกำที่แบ่งไว้ รับประทานกับผักสด ผักต้ม และปลาทู


3.แกงเหลือง

 
แกงเหลือง เป็นอาหารชนิดหนึ่งในถาคใต้ของประเทศไทยในท้องถิ่นเรียกว่า แกงส้ม ซึ่งมีความแตกต่างจากแกงส้มของไทย ทั้งในด้านรสชาติ เครื่องปรุง วิธีการปรุง กลิ่น และสีสันของน้ำแกงที่ปรุงเสร็จแล้ว ส่วนวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำเป็นแกงเหลืองนั้นคล้ายกับแกงส้มของไทย เช่นปลา กุ้ง หรือหมูสามชั้น และใช้ผักต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและรสชาติ หรือบางครั้งใช้หน่อไม้ดอง

เครื่องปรุง 
ปลากะพง ผักที่จะใช้แกง ถั่วฝักยาว สับปะรด หรือมะละกอ น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำเปล่า น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ เครื่องแกง

วิธีทำ
1. ล้างปลาให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นโตพอสมควรประมาณ 1+1/2 นิ้ว
2. เลือกหน่อไม้ดองอ่อน ๆ ล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้นประมาณ 1 นิ้ว
3. ละลายน้ำพริกกับน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด ใส่หน่อไม้ดองลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำตาล ชิมรสดู เมื่อรสดีแล้วและน้ำเดือดใส่ปลาลงไป พอเดือดอีกครั้งหรือปลาสุกจึงยกลง ใส่น้ำมะนาวเพื่อช่วยให้มีรสแหลมขึ้น

 4.ไก่กอ
 


ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและ เป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้และมาเลเซีย เมนูนี้เป็นอาหารที่ชาวมุสลิมแถบชายแดนใต้ของไทยทำรับประทานกัน โดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก บางแห่งจะทำไก่ฆอและขายคู่กับข้าวหลาบด้วย ไก่กอและในภาษามาลายูจะอ่านว่า "อาแยฆอและ" (Ayam Golek) คำว่า อาแย (Ayam) แปลว่าไก่ ฆอและ (Golek) แปลว่า กลิ้ง อาแยฆอและ จึงแปลว่า ไก่กลิ้ง ก็น่าจะหมายถึงการย่างเพราะต้องคอยพลิกกลับไปมา นอกจากจะใช้ไก่ทำแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อสัตว์อื่น ๆ ทำได้ ถ้าใช้หอยแครงสดทำ เรียกว่า "กือเปาะห์ฆอและ" ใช้ปลาทำ เรียกว่า "อีแกฆอและ" ถ้าใช้เนื้อทำ เรียกว่า "ดาฆิงฆอและ"

เครื่องปรุง
ไก่  หัวกะทิ    พริกแห้งดอกใหญ่   หัวหอม   กระเทียม     แป้งข้าวจ้าว    ขิง   เกลือ     น้ำมะข้ามเปียก   น้ำตาลแว่นใหญ่   

วิธีทำ
               1. นำพริก หอม กระเทียม ขิง โขลกเข้าด้วยกันจนละเอียด
              2. นำกะทิตั้งไฟจนเดือดใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล จนเข้ากันดี ชิมรสดูตามชอบ แล้วละลายแป้งข้าวเจ้า ใส่ลงไป และหมักไว้ในน้ำเกลือ ( น้ำ  2 ถ้วย  เกลือ 2 ช.ต.) หมักไว้ 20 นาที นำไก่ไปเสียบกับไม้ๆผ่แล้วนำไปนึ่งจนสุก จึงนำไปย่างจนแห้งราดด้วยเครื่องปรุงรสไว้แล้ว ย่างกลับไปกลับมา จนเครื่องติดเนื้อไก่และแห้งไม่หลุดออกจากเนื้อไก่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย รับประทานด้วยความอร่อย


5.แกงไตปลา 
 


ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึงถ้ามีมากเกินรับประทานก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหาร
              ไตปลา หรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออก ล้างพุงปลาให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้
              แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะ ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้

เครื่องปรุง
ไตปลา  น้ำเปล่า  ส้มแขก   หรือมะขามเปียกคั้นน้ำ   กุ้งสด  ปลาย่างหรือปลากรอบ    น้ำตาลปึก   ใบมะกรูดข่า ตะไคร้  ผิวมะกรูด    ขมิ้น  กะปิ เครื่องแกง

วิธีทำ
1.ใส่ไตปลาในหม้อพร้อมกับน้ำ ประมาณ 2 ถ้วย ตั้งไฟให้ละลาย กรองเอากากออกใส่น้ำพริกแกงละลายลงในหม้อแกง นำไปตั้งไฟจนเดือดทั่ว
2.ใส่กุ้งสดสับหยาบๆ ปลาย่างเช่น ปลาทู ปลาสีกุน ฯลฯ หรือปลากรอบที่แกะเอาแต่เนื้อ
3. ใส่ส้มแขกหรือมะขามเปียก น้ำตาลปึก ชิมรสถ้ารสอ่อนให้เติมเกลือ เมื่อรสดีแล้วใส่ผักต่างๆและใบมะกรูดพอผักสุกยกลง



บรรณานุกรม